บูติกโฮเต็ลแห่งแรกในเขตเมืองเก่าสงขลา The first boutique hotel in the old town Songkhla,Southern Thailand
บ้านในนคร เป็นทีพักบูติกโฮเต็ลขนาดเล็ก ที่เจ้าของบ้านปรับปรุงบ้านเก่าอายุร่วมร้อยปี ตบแต่งอย่างมีเอกลักษณ์ ในลักษณะผสมผสานเก่าใหม่ ทำให้สถานที่แห่งนี้มีลักษณะ Handmade และอบอุ่น แตกต่างจากที่พักทั่วไป หลายส่วนของบ้าน เจ้าของบ้านลงมือทำเอง โดยเฉพาะงานโมเสก ที่มีสีสัน เพิ่มความสดใสและความน่าสนใจให้กับโรงแรมได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การการเซลฟี่ เป็นอย่างยิ่ง เรามีที่พักเพียง 6 ห้อง แต่ละห้องตบแต่งอย่างมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน
Translate
วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560
พิพิธภัณฑ์ผ้า
เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ที่เจ้าของได้รวบรวมผ้าในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ผ้าที่สะสมได้ส่วนใหญ่ได้มาจากพื้นที่ชุมชนบ้านหัวเขา อ.สิงหนคร ชุมชนมุสลิมเก่าที่มีประวัติตั้งถิ่นฐานมายาวนาน ต่อเนื่องจากเมืองโบราณซิงโกราที่หัวเขาแดง หลังจากรวบรวมผ้าเป็นเวลา 1 ปี ได้ผ้ามาประมาณ 1,000 ผืน จึงนำมาจัดแสดงในบ้านซึ่งเป็นห้องแถวแบบจีนโบราณ บนถนนนครใน และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม ด้วยความมุ่งหวังอยากให้เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปะวัฒนธรรมผ่านการใช้ภูษาอาภรณ์ของคนในอดีต
ผู้สนใจเข้าชมได้ในวันเสาร์อาทิตย์ ( หากเจ้าของไม่ได้ติดภารกิจใดใด ) หรือท่านสามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่.....
พิพิธภัณฑ์ผ้า ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 238 ถนนนครใน ติดกับร้านกาแฟ อ่องเฮียบฮวด
แผนที่ร้านกาแฟ อ่องเฮียบฮวด ฝั่งซ้ายมือของร้านกาแฟนี้ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้า
พิพิธภัณฑ์บ้านนครใน Baan Nakhon Nai Museum
พิพิธภัณฑ์บ้านนครใน
บ้านนครใน ประกอบด้วยบ้านเก่าทรงจีน 1 หลัง ที่ได้รับการบูรณะแล้ว และอาคารชิโนยูโรเปี้ยน สร้างใหม่อีก 1 หลัง ที่เจ้าของซึ่งเป็นคหบดีเมืองสงขลา ดำเนินกิจการร้านทอง หลายสาขา ต้องการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน เปิดบ้านทั้ง 2 หลังให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในจัดแสดงถ้วยชาม เตียงแบบจีนโบราณอายุมากกว่าร้อยปี โดยให้เข้าชมฟรี
บ้านนครในตั้งอยู่บนถนนนครใน ด้านหลังทะลุถนนนครนอก และอีกฝั่งถนนนครนอก มีช่องว่างระหว่างตึกสามารถชมวิวทะเลสาบได้
บ้านนครในเปิดให้ชมทุกวัน
วันธรรมดาเปิดเวลา 08.00น-18.00 น
วันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา 08.00-19.00 น
ปล. บ้านนครใน มีชื่อคล้ายกับ บ้านในนคร เพื่อไม่ให้สับสน ขอย้ำอีกครั้งดังนี้
บ้านนครใน เป็นพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่บนถนนนครใน
บ้านในนคร เป็นโรงแรม ตั้งอยู่บนถนนนางงาม
จากโรงแรมบ้านในนครท่านสามารถเดินได้ อยู่ห่างกันเพียงแค่ 400 เมตร
อาคารชิโนโปรตุเกส 4 ชั้น สร้างใหม่คู่กับตึกเก่าทรงจีนเพื่อจัดแสดงครื่องกระเบื้องถ้วยชามและเตียงโบราณ |
เตียงโบราณอายุมากกว่าร้อยปี ที่จัดแสดงภายใน |
เตียงโบราณอายุมากกว่าร้อยปี ที่จัดแสดงภายใน |
เตียงโบราณอายุมากกว่าร้อยปี ที่จัดแสดงภายใน |
จุดถ่ายรูป |
ช่องทะลุสู่ทะเลสาบสงขลา สามารถชมวิวความงามของทะเลสาบได้ |
ศาลหลักเมือง City Pillar Shrine
ศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองสงขลา หรือทีชาวบ้านเรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นสถานที่รวมจิตใจคนสงขลา เป็นจุดเริ่มต้นของเมืองสงขลาบ่อยาง..ประวัติศาสตร์เมืองสงขลาบ่อยาง เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกอบพิธีวางเสาหลักเมืองเมื่องวันที่ 10 มีนาคม 2385 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์ให้แก่พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เพื่อเป็นเสาหลักเมือง
เนื่องจากเจ้าเมืองสงขลาและประชาชนในย่านนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ได้มีการสร้างอาคารคร่อมเสาหลักเมือง แบบศาลเจ้าจีนและได้อันเชิญองค์เทพศักดิ์สิทธ์ ช่วยปกปักษ์รักษาเมือง เป็นองค์เจ้าพ่อหลักเมือง มีชื่อว่า " เซ่งห๋องเหล่าเอี๋ย" มาประดิษฐานไว้
ตั้งอยู่ด้านหลังของหลักเมือง โดยจะมีงานสมโภชประจำปี ในช่วง วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ของทุกปี
ศาลหลักเมืองตั้งอยู่บนถนนนางงาม ออกจากบ้านในนคร เดินไปทางขวาประมาณ 100 เมตรก็ถึงแล้ว
แผนที่ศาลหลักเมือง
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560
โรงสีแดง (หับ โห้ หิ้น )
โรงสีข้าวพลังไอน้ำที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในอดีต ตระกูลรัตนปราการผู้เป็นเจ้าของได้รับซื้อข้าวเปลือกจากพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา ลำเลียงตามทะเลสาบมายังโรงสีแห่งนี้ เพื่อสีให้เป็นข้าวสาร ข้าวสารจากที่นี่จะถูกส่งไปขายยังจังหวัดชายแดนใต้รวมไปถึงมาเลเซียโดยเฉพาะปีนัง และรัฐตังกานู แม้จะเลิกกิจการไปแล้ว โรงสียังได้รับการดูแลอย่างดี ทาสีใหม่ สีแดงเพลิงดูสดใสโดดเด่น มองเห็นได้แต่ไกล โดยเฉพาะเมื่อมองจากด้านทะเลสาบ
ปัจจุบันทางตระกูลรัตนปราการ ได้เปิดโรงสีแดงให้เป็นพื้นที่เอนกประสงค์เพื่อใช้ทำกิจกรรมต่างๆของสังคม และใช้เป็นที่ทำการของภาคีคนรักสงขลา เป็นที่ต้อนรับและให้ข้อมูลแก่ผู้มาเยือนเมืองสงขลา ท่าเรือของโรงสีแดงมีพื้นที่กว้างขวาง เปิดโล่งออกสู่ทะเลสาบ มีเรือประมงมาจอดเทียบท่าเป็นประจำ เพิ่มสีสันให้แก่สถานที่นี้ให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ท่านสามารถเข้าไปชม ถ่ายรูป และสัมผัสบรรยากาศริมทะเลสาบได้ทุกวัน เปิดให้ชมตั้งแต่ 08.00น-18.00น ระยะทางจากบ้านในนคร เพียงแค่ประมาณ 400 เมตรเท่านั้นเอง
แผนที่โรงสีแดง
อาหารเช้า Breakfast
เมนูอาหารเช้า ประกอบด้วย ข้าวต้มไก่ (สับละเอียด ปั้นเป็นก้อน) โรตีหวาน ผลไม้ตามฤดูกาล และเครื่องดื่มร้อน
ข้าวต้มสูตรอร่อยของเรา |
ผลไม้ตามฤดูกาล จัดจานสวยงาม |
โรตี โฮมเมด เราทำเอง ที่บ้านในนคร |
เราบริการกาแฟเนสเปรสโซแคบซุล กลิ่นหอมกลมกล่อม |
อาหารเช้าจะเสริฟในสวนสวยหากฝนไม่ตก
ที่นั่งรับประทานอาหารเช้าในสวน |
ที่นั่งรับประทานอาหารเช้าในสวน |
ที่นั่งรับประทานอาหารเช้าในอาคาร |
วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560
การเดินทางไปสงขลา Transportation to Songkhla
โดยเครื่องบิน
สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา
การบินไทย ไทยสไมล์ นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลออนแอร์ มีเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ทุกวัน ไทยแอร์เอเชีย และไทยไลออนแอร์มีเที่ยวบินตรง เชียงใหม่-หาดใหญ่ หาดใหญ่-เชียงใหม่ อีกด้วย
สอบถามข้อมูลการเดินทาง ตารางเที่ยวบิน และสำรองที่นั่งได้ที่
การบินไทย โทร. 02 356 1111
www.thaiairways.co.th
ไทยสไมล์ โทร 02 118 8888
thaismileair.com
นกแอร์ โทร. 1318
www.nokair.com
ไทยแอร์เอเชีย โทร. 02 515 9999
www.airasia.com
ไทยไลอ้อนแอร์ โทร 02 529 9999
www.lionairthai.com
เมื่อลงที่สนามบิน
ท่านที่ชอบขับรถเอง สามารถเช่ารถได้ที่เคาน์เตอร์รถเช่า ภายในโถงขาออกของสนามบิน ท่านสามารถขับรถเข้าตัวเมืองสงขลาได้ 2 เส้นทาง คือ ถนนกาญจนวนิช (สายเก่า)และถนนลพบุรีราเมศร์(สายใหม่) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที
หรือ
ใช้บริการรถแท๊กซี่มิเตอร์ คิดราคาเหมาจ่าย 500 บาท ส่งถึงที่หมายในตัวเมืองสงขลา ติดต่อเคาน์เตอร์รถแท๊กซี่มิเตอร์ตรงบรรไดทางลงลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสาร
หรือ
ใช้บริการรถตู้ ติดต่อเคาน์เตอร์รถภายในโถงขาออกของสนามบิน เพื่อเข้าเมืองหาดใหญ่ แล้วจึงเปลี่ยนรถตู้อีกครั้งที่หอนาฬิกาเพื่อเข้าเมืองสงขลา
โดยรถประจำทาง
มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-สงขลา และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 12 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com
สถานีขนส่งสงขลา อยู่ใกล้ตลาดประมง ห่างจากบ้านในนครประมาณ 2.5 กิโลเมตร
โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังอำเภอหาดใหญ่ทุกวัน ทั้งรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน และรถด่วนพิเศษ สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 สถานีรถไฟหาดใหญ่ โทร. 0 7424 3705 หรือ www.railway.co.th
เมื่อมาถึงสถานีหาดใหญ่ ท่านสามารถใช้บริการรถตู้ที่หอนาฬิกาเพื่อเข้ามายังเมืองสงขลาได้
ตลาด ในบริเวณเมืองเก่า และใกล้เคียง Nearby markets
ตลาดที่น่าสนใจในบริเวณเมืองเก่าและใกล้เคียง
ถนนคนเดิน
ถนนจะนะ บริเวณริมกำแพงเมือง
เปิดทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 16.30-22.30 น
ถนนวัฒนธรรม ตลาดสองเล
ถนนนครนอก ช่วงถนนตั้งแต่ประตูเมืองจนถึงโรงสีแดง
เปิดทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน เวลา 16.00-22.00 น
สินค้าส่วนใหญ่เป็นอาหาร มีการแสดง STREET PERFORMANCE สลับเป็นระยะ
ตลาดวันอาทิตย์ (ตลาดรถไฟ)
ถนนรามวิถี ตั้งแต่หัวมุมโรงเรียนอนุบาลสงขลา จนถึงวิทยาลัยอาชีวศึกษา
และถนนปละท่า ตั้งแต่หัวมุมโรงเรียนอนุบาลสงขลา จนถึงวัดสระเกษ คลุมพื้นที่ตลาดรถไฟ และซอกซอยต่างๆในบริเวณใกล้เคียง
เปิดทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 06.00-12.00 น
สินค้าหลากหลายน่าสนใจ ตั้งแต่พืชผักผลไม้ อาหารสด อาหารปรุงสุกแล้ว ขนมโบราณ antiques สินค้ามือสอง ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง เป็นต้น
วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สถานที่น่าสนใจของเมืองสงขลา Attractions of Songkhla City
สงขลามีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ในส่วนที่อยู่ในเขตเมืองเก่า ท่านสามารถเดินเท้าจากบ้านในนครได้อย่างสะดวกสบาย ทุกที่อยู่ในระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตร ส่วนสถานที่อื่นๆที่ห่างออกไป ท่านอาจจะต้องใช้รถยนต์ โบกรถตุ๊กๆ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ขี่จักรยาน หรือหากท่านชื่นชอบการเดิน ก็ยังสามารถเดินได้ เพราะเมืองสงขลามีขนาดกระทัดรัด ด้วยมีพื้นที่จำกัด ถูกขนาบด้วย 2 ทะเล เราจะพยายามรวบรวมสถานที่น่าสนใจต่างๆเอามาลงเพิ่มเติมให้เรื่อยๆนะครับ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนเที่ยว ตามความสนใจและเวลาที่แต่ละท่านมีแตกต่างกัน
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา |
วัดมัชฌิมาวาส |
เขาตังกวน |
มัสยิดบ้านบน |
หาดสมิหลา |
หาดสมิหลา |
ศิลาจารึก 3 ภาษา |
โรงสีแดง (หับ โห้ หิ้น) |
ศาลหลักเมือง |
พิพิธภัณฑ์บ้านนครใน |
พิพิธภัณฑ์ผ้า |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)